คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11883/2554

การซื้อขายหุ้นสามัญชนิดระบุชื่อเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งซึ่งต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม ส่วน ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง เพียงกำหนดแบบของการโอนหุ้นที่มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่แบบของการซื้อขายหุ้น ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้โอนหุ้นให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าวยังไม่อาจอ้างว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท และไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นตามที่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น หาทำให้การซื้อขายหุ้นตกเป็นโมฆะไม่

 

โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระเงิน 3,284,730.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 2,856,287.50 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ให้การขอให้ยกฟ้อง

ระหว่างพิจารณาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 6 ศาลชั้นต้นอนุญาต จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 6

ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันชำระเงิน 2,856,287.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะชำระเสร็จให้แก่โจทก์ กับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท

จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 อุทธรณ์

ระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท

จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งหกผิดสัญญาซื้อขายหุ้นซึ่งเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม แม้วัตถุแห่งคดีจะเป็นการซื้อขายหุ้น แต่กรณีก็ไม่จำต้องมีการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสอง ทั้งนี้เพราะความมุ่งหมายของบทบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือชื่อเป็นโมฆะนั้น เป็นการกำหนดแบบของการโอนที่มีหลักฐานการโอนที่แน่นอนเท่านั้น หาใช่เป็นแบบของการซื้อขายหุ้นไม่ ผู้ซื้อหุ้นที่มิได้ทำการโอนให้ถูกต้องตามบทบัญญัติดังกล่าว ยังไม่อาจอ้างว่าตนเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นในบริษัทตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้เท่านั้น แต่หาทำให้การซื้อขายหุ้นขัดต่อกฎหมายและตกเป็นโมฆะไม่ เมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งการโอนเงินค่าหุ้น เป็นหลักฐานของการซื้อขาย และจำเลยทั้งหกได้รับโอนหุ้นโดยชำระเงินบางส่วน ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันซื้อหุ้นพิพาทจากโจทก์ และต้องรับผิดชำระเงินค่าซื้อหุ้นพิพาทที่ค้างชำระแก่โจทก์

พิพากษายืน ให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความให้ 30,000 บาท

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

บทความที่น่าสนใจ

-การด่าตำรวจจราจรว่ารับสินบนจะมีผิดความหรือไม่

-ด่ากันทางโทรศัพท์

-ส่งมอบโฉนดให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นหลักประกันต่อมาไปแจ้งความว่าโฉนดหายมีความผิดต้องโทษจำคุก

-การปลอมเป็นเอกสารจำเป็นต้องมีเอกสารที่แท้จริงหรือไม

-การลงลายมือแทนกันเป็นความผิดฐานปลอมเอกสาร

-เมื่อครอบครองปรปักษ์ที่ดินแล้ว ต่อมาเกิดที่งอกใครเป็นเจ้าของที่งอกนั้น

-ซื้อที่ดินในหมู่บ้านจัดสรร แล้วไปซื้อที่ดินข้างนอกที่ติดกับหมู่บ้าน
เพื่อเชื่อมที่ดินดังกล่าวเข้ากับที่ดินในหมู่บ้าน

-ขายฝากที่ดินต่อมาผู้ขายได้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดิน แต่ไม่ได้ไถ่ภายในกำหนดบ้านเป็นของใคร

-ไม่ได้เข้าร่วมในการแบ่งกรรมสิทธิ์รวม

-ปลูกต้นไม้ในทางสาธารณะสามารถฟ้องให้รื้อถอนออกไปได้

-การทำสัญญายอมในศาลโดยการครอบครองในป่าสงวน

-เจ้าของรวมนำโฉนดที่ดินไปประหนี้เงินกู้ผลเป็นอย่างไร

-การต่อเติมภายหลังปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำ

-คนต่างด้าวก็สามารถครอบครองปรปักษ์ได้

-ผู้รับการให้ด่าว่าผู้ให้ ผู้ให้สามารถเพิกถอนการให้ได้

-ยกที่ดินให้แล้ว แต่มีสิทธิเก็บกินโดยไม่ได้จดทะเบียนผลเป็นอย่างไร

-ด่าว่า จัญไร ถอนการให้ได้

-ฟ้องเรียกค่าขาดกำไร เป็นค่าเสียหายพฤติการณ์พิเศษ

-หนังสือทวงถามส่งไปที่บ้านตามภูมิลำเนาอ้างว่าไม่ได้รับได้หรือไม่

-การยินยอมของเด็กที่ให้ล่วงละเมิดทางเพศ ยังคงเป็นความผิดฐานละเมิด

-ดูหมิ่นเรียกค่าเสียหายได้เท่าไหร่

-ตั้งใจไปกู้แต่เจ้าหนี้ให้ทำสัญญาขายฝากผลเป็นอย่างไร

-คำมั่นจะให้เช่าเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียว

-การโอนสิทธิการเช่าทำได้หรือไม่